วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ดอยหลวงเชียงดาว


ดอยเชียงดาว ได้รับการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองแหง ตำบลเมืองงาย ตำบลเมืองคอง ตำบลเชียงดาว และตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 521 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 325,625 ไร่ มีอาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับดอยนาง ทิศใต้ติดกับดอยกิ่วลม และดอยปางขุนตาล ทิศตะวันตกติดกับดอยผาแดง และดอยแปรสันกลางทิศตะวันออก ติดกับแอ่งที่ราบเชียงดาว

 
 แหล่งท่องเที่ยวบนดอยหลวงเชียงดาว
แหล่งท่องเที่ยวบนดอยหลวงเชียงดาว แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ คือ ยอดเขาลูกต่างๆ ที่อนุญาตให้ขึ้นไปท่องเที่ยวทั้งหมด 3 ยอดด้วยกัน คือ ยอดดดอยสามพี่น้อง ยอดดอยกิ่วลม และยอดดอยสูงสุด การท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่งคือการศึกษาสภาพพรรณไม้ ซึ่งดอยหลวงเชียงดาว มีสภาพพืชพรรณไม้กึ่งอัลไพน์ ที่มีความสำคัญที่สุดของเมืองไทย พรรณไม้เหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในกลางฤดูฝน จนถึงต้นฤดูหนาว


วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ดอยอ่างขาง


ดอยอ่างขางลมหนาวมาแล้ว ... ถึงเวลาออกไปโลดแล่นสัมผัสกับอากาศเย็น ๆ กันซะหน่อย ^^ และวันนี้กระปุกดอทคอมจะพานักเดินทางไปท้าทายความหนาวเย็นไกลถึง "เชียงใหม่"สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง หรือที่หลายคนเรียกว่า ดอยอ่างขาง กันค่ะ ใครเตรียมตัวเตรีมใจพร้อมแล้ว ก็ตามเราเข้าไปเลยค่ะ...

         
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะ 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 26.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 16,577 ไร่ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า "ให้เขาช่วยตัวเอง" เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาว ที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน

 
ดอยอ่างขาง

ประวัติ...ดอยอ่างขาง
          โดยเรื่องกำเนิดของ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง แห่งนี้ เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่า ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้ และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร
          จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลย และสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่า ชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณ ดอยอ่างขาง ส่วนหนึ่ง
ดอยอ่างขาง

          จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ. ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัยและทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขา ในการนำพืช เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามว่า "สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง"

          "อ่างขางในอดีตวันนั้นสวยมากด้วยดอกฝิ่นและภูมิประเทศ เราได้เห็นต้นท้อ แอ๊ปเปิ้ลป่า และทราบว่าอากาศหนาวเราได้คุยกับผู้ที่ไปตั้งร้านขายของ ซื้อฝิ่นเขาขึ้นมาอีกทางหนึ่ง ห่างจากค่ายทหารจีนโดยที่ชาวเขาส่วนมากอพยพไปที่อื่น อ่างขางจึงมีที่เหลือให้หญ้าคาขึ้นอยู่มาก ด้วยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสถานีเกษตรหลวงอ่างขางขึ้นเมื่อ 30 ปี มานี้ สถานีเกษตรหลวงอ่างขางได้ทำวิจัยได้" ม.จ. ภีศเดช รัชนี กล่าว

          โดยคำว่า "อ่างขาง" ภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อม รอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อย ๆ ละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง


 

 
ดอยอ่างขาง

          สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง ปัจจุบัน ดอยอ่างขาง ได้เปลี่ยนสภาพจากภูเขา ซึ่งถูกตัดไม้ทำลายป่ามาเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาวกว่า 12 ชนิด ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม สตรอเบอร์รี่ สาลี่ ราสเบอรี่ พลับ กีวี ลูกไหน เป็นต้น ผักเมืองหนาวกว่า 60 ชนิด เช่น แครอท ผักสลัดต่างๆ ฯลฯ และไม้ดอกเมืองหนาวมากกว่า 20 ชนิด เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ จำหน่ายผลิตผลตามฤดูกาลที่ปลูก ในโครงการให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล
          สำหรับบน ดอยอ่างขาง มีชาวไทยภูเขาเผ่าจีนฮ่อ ไทยใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง อาศัยอยู่โดยรอบกว่า 600 ครัวเรือนใน 6 หมู่บ้าน ส่วนสภาพอากาศจะเย็นสบายตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16.9 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว
 

 
ดอยอ่างขาง

กิจกรรมท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง ได้แก่…
          • ชมแปลงสาธิต ผัก ผลไม้ และไม้ดอกเมืองหนาวภายในศูนย์ฯ สามารถขับรถวนเป็นวงกลม ค่าเข้าชมคนละ 30 บาท ยานพาหนะคันละ 50 บาท

          • ชมสวนบอนไซ อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันก็มีสวนสมุนไพรด้วยฤดูท่องเที่ยวอยู่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

          • เยี่ยมหมู่บ้านหลวง สัมผัสชีวิตชาวจีนฮ่อ ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีน ยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่

ดอยอ่างขาง

          • เยี่ยมหมู่บ้านนอแล สัมผัสวิถีชีวิตชาวปะหล่อง อดีตชนเผ่าดั้งเดิมของพม่า มีผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของกลุ่มแม่บ้าน จำหน่ายและเยี่ยมฐานปฏิบัติการนอแล ชมชายแดนไทย-พม่า ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย - พม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมาที่นี่ได้ประมาณ 15 ปี คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติ บริเวณพรมแดนไทย-พม่า

          • เที่ยวบ้านขอบด้ง สัมผัสวิถีชีวิตชาวเขาเผ่ามูเซอ มีมัคคุเทศก์น้อยพาเยี่ยมชมภายในหมู่บ้าน เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่า มูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตร และด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ) บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของ ชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้ง ช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้าน โดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อย ที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้ง เพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักท้องถิ่นให้เด็ก ๆ ด้วย

ดอยอ่างขาง

          • เที่ยวหมู่บ้านคุ้ม ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็ก ๆ ประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว

          • เดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะสั้น ประมาณ 2 กิโลเมตร จะได้ชมความงามธรรมชาติของผืนป่าปลูกทดแทน น้ำตกเล็กๆ และกุหลาบพันปี

          • ขี่จักรยานเสือภูเขาชมธรรมชาติ จากบ้านคุ้มไปยังบ้านนอแล และจากบ้านหลวงไปยังบ้านผาแดง
ดอยอ่างขาง

          • กิจกรรมดูนก ที่มีทั้งนกประจำถิ่นและนกหายากต่างถิ่นให้ศึกษาหลากสายพันธุ์ มากกว่า 1,000 สายพันธุ์ จุดที่เหมาะคือสถานีป่าแม่เผอะและบริเวณรอบๆ รีสอร์ทธรรมชาติอ่างขาง

          • ขี่ฬ่อล่องไพร ชมความงดงามของธรรมชาติ ในบรรยากาศเย็นสบายรอบ ๆ ดอยอ่างขาง ด้วยการนั่งบนหลังฬ่อ (การนั่งบนหลังฬ่อต้องนั่งหันข้าง เนื่องจากอานกว้างไม่สามารถนั่งคร่อมอย่างการขี่ม้าได้) หากสนใจกิจกรรมนี้ต้องติดต่อกับรีสอร์ทล่วงหน้าอย่าน้อย 1 วัน เพราะปกติชาวบ้านจะนำฬ่อไปเป็นพาหนะขนผลิตผลทางการเกษตรด้วย

          • จุดชมวิว-จุดกิ่วลมชนิด เป็นลานชมพระอาทิตย์ขึ้น-ตกดิน และสัมผัสทัศนียภาพของถนนทางขึ้น ดอยอ่างขาง อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยก ซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมวิวได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตก หรือทะเลหมอก มองเห็นทิวเขารอบด้าน และหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย

ดอยอ่างขาง

ที่พักและร้านอาหาร

          สถานีเกษตรหลวงอ่างขางมีบ้านพักรับรองภายในศูนย์ฯ จำนวน 18 หลัง ดังนี้...

          • ขนาดพัก 2 คน ราคา 1,000 บาท/หลัง/คืน
          • ขนาดพัก 6 คน ราคา 1,200 บาท/หลัง/คืน
          • ขนาดพัก 40 คน ราคา 150 บาท/คน/คืน
          • เต็นท์บริการ ขนาด 2-3 คน ราคา 150 บาท/หลัง/คืน หากรวมถุงนอนราคา 300 บาท/หลัง/คืน
          • เต็นท์บริการ ขนาด 4-5 คน ราคา 300 บาท/หลัง/คืน หากรวมถุงนอน ราคา 500 บาท/หลัง/คืน
          • กรณีนำเต็นท์มาเองคิดค่าบริการพื้นที่คนละ 20 บาท
          • มีร้านอาหารและเครื่องดื่มภายในสโมสรอ่างขาง

          หมายเหตุ : กรุณาสำรองที่พักล่วงหน้าก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 เดือน โทร. 0-5345-0107-9

วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม





 
วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม   ร้อยเอ็ด

                วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม   เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นวัดที่ประดิษฐานพระมหาเจดีย์ชัยมงคลอันเป็นพระเจดีย์ใหญ่ และมีความงดงามตะการตามากที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย  ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาและความภาคภูมิใจของชาวร้อยเอ็ด และชาวอีสานทั้งมวล  พระมหาเจดีย์ชัยมงคลเป็นพระธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันเป็นที่เคารพสักการะ  และยังถือเป็นศาสนสถานสำคัญที่สะท้อนถึงพลังแห่งศรัทธาที่แรงกล้าของประชาชนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่ร่วมกันประกาศความรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป
                พระมหาเจดีย์ชัยมงคลนั้นได้เริ่มการก่อสร้างขึ้นในปี  พ.ศ. 2528  โดยพระเทพวิสุทธิมงคล หรือ หลวงปู่ศรีมหาวีโร  ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น  ภูริทัตโต  พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากรรมฐานแก่พระภิกษุสงฆ์ และพุทธศาสนิกชน  โดยการปฏิบัติจริงบนสถานที่จริงในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้

                พระมหาเจดีย์ชัยมงคลได้รับการออกแบบจากกรมศิลปากร  โดยใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานอันเป็นการผสมผสานกันระหว่างศิลปะแห่งพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม กว้าง 101  เมตร ยาว 101  เมตร  สูง 101  เมตร  อันมาจากชื่อของจังหวัดร้อยเอ็ด  ยอดทองคำใช้ทองคำหนักถึง 60  กิโลกรัม  องค์พระมหาเจดีย์ชัยเป็นสีขาวประดับลวดลาย  ตระการตาด้วยสีทองอร่าม  รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง  8  ทิศ และแบ่งเป็น  6  ชั้น  ภายในยังได้ตกแต่งไว้อย่างงามวิจิตรราวกับเนรมิต ความงามแห่งสวรรค์มาไว้บนแผ่นดินอีสานนี้

สถานที่ตั้ง

                บ้านโคกกลาง  ต.ผาน้ำย้อย   อ.หนองพอก  จ.ร้อยเอ็ด ห่างจากตัวเมืองประมาณ  80  กม.


ความเชื่อ และวิธีการบูชา

                มหาเจดีย์ชัยมงคลจะยังเป็นสถานที่ในการประกอบศาสนกิจต่างๆ  มีพิพิธภัณฑ์วิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่ศรี  และเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ในอดีตทั้ง  101  องค์  รวมทั้งพระบรมสารีริกธาตุซึ่งอยู่บนชั้นสูงสุด  ให้ประชาชนทุกสารทิศได้มาสักการบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลในคราวเดียวกัน

วันเวลาเปิด-ปิด

                เปิดให้สักการะทุกวัน  ระหว่างเวลา 06.00 - 17.00 น.

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

เที่ยวดรีมเวิลด์

ขอแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวสวนสนุกดรีมเวิลด์ นึกสนุกอยากไปเล่น สกาย โคสเตอร์
สนุกเร้าใจไปกับรถไฟเหาะแบบใหม่ พุ่งทะยานสู่ท้องฟ้าเสมือนพาทุกท่าน เหาะไปในอากาศ





สำหรับท่านใดที่อยากลองความเสียวสุดๆ ทดลองได้ครับ แต่ถ้าเป็นโรคความดันหรือโรคหัวใจ
ห้ามเด็ดขาดนะ เพราะมันเสียวจริงๆ เหมือนเราจะหลุดออกจากเครื่องเล่นกันเลยทีเดียว

นี้แค่ความสูงประมาณตึก 10 ชั้นเองนะ แต่ถ้าเจอของต่างประเทศ ตึก 100 ชั้นละก็




หลังจากนั้นพักหายใจกับการเล่น สกาย โคสเตอร์ ก็ลองมองไปเห็น
เฮอริเคน
พบลีลาที่เร้าใจของพายุความสนุก ที่จะพาเพื่อนๆ เหินเวหา ตีลังกากลางอากาศ บนความสูงกว่า 20 เมตร เหมือนได้นั่งเครื่องเล่น ที่มีความมันส์แบบยกกำลัง 2 ด้วยความรู้สึกของ ไวกิ้งส์บวกกับรถไฟเหาะเสียอย่างเดียวกล้องแบตเริ่มหมดสะแล้วเลยถ่ายรูปไว้ไม่ได้ หลังจากนั้นก็ลองเล่นดู รู้สึกว่าช่วงแรกๆไม่ค่อยมีอะไรคิดว่าคงตื่นเต้นสู้ สกาย โคสเตอร์ ไม่ได้แน่นอน แต่แล้วก็คิดผิดแล้วหล่ะ แค่รอบแรกก็ตระโกนบอกพอแล้วๆเกิดมาไม่คิดว่าจะมีอะไรทำให้ตื่นเต้นอะไรได้มากขนาดนี้
เอาละสำหรับท่านใดที่อยากรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวดรีมเวิลด์เพิ่มเติมติดต่อได้ www.dreamworld-th.com โดยตรงเลยนะอยากสนุกอยากตื่้นเต้นดรีมเวิลด์เครื่องเช่นที่ชื่อว่า เฮอริเคน ไปลองกันได้เลย

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เที่ยวเมืองเหนือ ดอยผาตั้ง

เห็ดหอมผัดน้ำมันหอย ผัดผักบรอคเคอรี่ ต้มยำ และอะไรอีกสามสี่อย่างทยอยมาลงที่โต๊ะ เรามากันแปดชีวิต

สองครอบครัวแต่อาหารสามารถเพียงพอสำหรับคนหนึ่งโหล สังเกตโต๊ะข้างๆ ตอนเราเข้ามามีลูกค้าอยู่ก่อนแล้ว

สองสามโต๊ะซุบซิบกัน แว่วๆเสียงเจ้าของร้านกระซิบบอกลูกค้าว่า พี่เขาโทรมาสั่งออเดอร์อาหารไว้ก่อนมาถึงค่ะ

แฮ่....นึกในใจมันเป็นความละเอียดรอบครอบของมนุษย์บางท่านที่หิวจัดในกลุ่ม เราแท้ๆ ทั้งๆที่สันญาณ

โทรศัพท์บนเขาระหว่างทางที่มาไม่ค่อยจะขึ้นเลยซักเม็ด ต้องขอชมเชยไว้ ณ ที่นี้

ข้าว สวยที่ว่าร้อนๆ เริ่มเย็นไปแล้ว ทั้งที่เราเช็ดช้อนเช็ดซ่อมยังไม่ทันเสร็จ ทุกคนนั่งคอหด ตัวงอ

บางคนดึงฮู๊ดคลุมหัว ปิดหู ลมแรงมากยิ่งหนาวเข้าไปอีก....มันหนาวดีแท้ เขาว่ายิ่งดึกยิ่งหนาว สี่ห้าองศา

น่าจะได้

น้ำชามาแล้วค่า แฟนเจ้าของร้านอาหารและรีสอร์ทใหม่เอี่ยมแห่งนี้ยกน้ำชามาให้พวกเรา ขณะที่เจ้าของ

ร้านผู้สามีเป็นอดีตทหารจีนฮ่อช่วยดูแลลูกค้าอย่างดี รู้ป่าวว่าทำไมน้ำชาร้อนๆมันจึงคู่กับขาหมู เพราะ

นอกจากมันแก้เลี่ยนแล้ว ยังช่วยละลายไขมันที่เรากินเข้าไปได้เป็นอย่างดี

ยี่สิบนาทีเห็นจะได้ บนโต๊ะเหลือแต่ของที่กินไม่ได้ อะไรจะปานนั้น

ไอติมมีป่าวคะ เสียงพวกเราคนหนึ่งถาม ไม่มีค่า มีแต่ผลไม้ที่สั่งไว้ เจ้ตอบมาจากโต๊ะเก็บเงิน

ล้อเล่น แกล้งถามดู ถึงมีก็ไม่ทานจ้า ขอบคุณจ้ะ

ระหว่าง ทางพวกเราผ่านดอยชี้ฟ้า คนเป็นหมื่น รถยนต์ เต้นท์นอน เต็มไปหมด ดีแล้วที่จุดหมายเราคือ

ดอยผาตั้ง เรามาถึงรีสอร์ทที่ดอยผาตั้งเกือบทุ่มหนึ่ง ที่พักไม่หรูแต่ใช้ได้เลย น่าพัก



เมื่ออาหารหมด เริ่มสังเกตสิ่งแวดล้อม จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นอีกไกลไหมครับพวกเราถาม ขับรถขึ้น

ไปจากที่นี่อีกสามกิโลเอง ออกจากที่นี่ตีห้ากว่า กำลังดี เจ้าของรีสอร์ทตอบเหมือนรู้ว่า เราจะถามอะไรต่อ

จ่าย ค่าเสียหายเสร็จ เดินไปที่พัก มันหนาวได้ใจจริงๆ แหงนหน้าดูฟ้า ขนาดพระจันทร์ส่องแสง ดาวที่

บนดอยทุกดวงมันใหญ่กว่าที่กรุงเทพเยอะ สวยมากๆ

ตื่นๆ เร็วตีสี่แล้ว เตรียมตัวเดี๋ยวพลาดไฮไลท์สำคัญของงานนี้ อุตส่าห์ขับรถมาตั้งไกล ไม่ทันดูพระอาทิตย์ขึ้น

ล้างหน้า แปรงฟัน แต่งตัวด่วน ใครพร้อมจัดการเลย เสียงหัวหน้าทีมกำชับอีกครั้ง โปรดสังเกตไม่มีคำว่า
อาบน้ำ เลยครับผม น้ำอุ่นก็มีให้บริการ จะอาบยังไงไหว หนาวแท้ยิ่งตีสี่ตีห้าแบบนี้

ออกมาจากห้องพัก มีรถหลายคันขับไปก่อนหน้าแล้ว จอดตรงไหนได้บ้าง รถมากจริงๆ เราถามเจ้าหน้าที่ที่

โบกรถอยู่ รถเป็นร้อยในลานจอด ขับตามไปเลยครับ ด้านในครับผมเสียงเจ้าหน้าที่ตอบ ความคิดบรรเจิด

เกิดขึ้น ถ้าเราเข้าไปด้านใน เวลาออกคงยุ่งแน่ รถมันจะบล็อกกันวุ่นวาย ออกยาก

เฮ้ยข้างหน้าริมทางว่างพอสองคัน ไปด่วน พวกเราชี้ไปข้างหน้า เรียบร้อยโชคดีแท้ จอดรถเดินขึ้นไป

จุดชมวิวข้างบน เขาเรียกว่าเนิน 102 และเนิน 103 ผู้คนต่างรีบเดินขึ้นไปเพื่อจับจองพื้นที่ชมวิว

ผมว่าผมอยู่ตรงนี้นะ เนินตรงนี้ที่มีเก๋งจีนนี่ ขี้เกียจเดินต่อขึ้นไปข้างบน ข้างบนคนเยอะมาก ผมบอก

พรรคพวก โอเค แล้วค่อยมาเจอกัน ถ่ายรูปมุมนี้ไว้ ผมจะถ่ายมุมข้างบนแล้วมาแชร์กันนะเพื่อนตอบ

สังเกตดูนักท่องเที่ยวเกือบทุกคนมีอาวุธประจำกาย.... กล้องถ่ายรูป ตัวเอง ถ่ายตรงนี้หน่อยซิ มุมนี้

สวยมากเลย ถ่ายไว้ๆ มึงไปยีนตรงโน้น กูจะถ่ายให้ ใช้แฟลชด้วยนะ ยังมืดอยู่เลย แสงไม่พอ เสียงวัยรุ่น

สาวสวย หนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ตะโกนกันไปทั่ว บรรยากาศดีจริงๆ

พระ อาทิตย์ยังไม่ขึ้น มีแต่แสงเรื่อๆที่ขอบฟ้า มองออกไปเห็นแต่ทะเลเมฆ ทะเลหมอก ขาวไปทั่วในหุบเขา

เป็นแนวยาวไปเป็นทาง ใต้เมฆลงไปคือ ลำน้ำโขง แต่มองไม่เห็น มีแต่เมฆหมอกสวยมาก ทิวเขาด้านหน้า

เป็นดินแดนประเทศลาว คิดว่าถ้าแสงมากว่านี้จะสวยขึ้นอีก อากาศหนาวจัด ได้ฟีลลิ่งดีจัง




เสียง ผู้คนเริ่มฮือฮาขึ้น ใช่แล้ว ....แสงสีแดงแสดเริ่มจับขอบฟ้าเหนือทิวเขา เสียงคนจากเนินข้างบนดัง

ขึ้นก่อนเพราะเขาอยู่สูงกว่า จะสามารถเห็นพระอาทิตย์โผล่ขึ้นมาก่อน นักท่องเที่ยวจ้องตาไม่กระพริบ
ใจจดใจจ่ออยู่กับแสงสีที่ค่อยๆปรากฏขึ้น เสียงชัตเตอร์ดังรัวเป็นปืนกล ถ่ายภาพกันแบบไม่อั้น อั้นไม่ไหว

แล้ว สวยมั่กมั่ก เกินกว่าจะบรรยาย เวลาผ่านไปรวดเร็วมาก ภาพชัดเจนขึ้น เขาสีเขียวตัดกับทะเลเมฆ

ปุยนุ่นสีขาว สงบนิ่ง หมอกอ่อนๆเริ่มเคลื่อนตัวเข้ามาตามกระแสลม กระจายไปทั่ว ยิ่งสายหมอกจะยิ่งหนาขึ้น

สวยงามไปคนละแบบ สุดยอดจริงๆ คุ้มค่า คุ้มเวลา ผู้คนเริ่มกระจายหาจุดหามุมถ่ายภาพ แสงเต็มที่แล้ว

แต่ก็ยังคอหดอยู่เช่นเดิม กลับไปดูรูปทุกคนจะเห็นภาพตัวเองคอหด มือซุกกระเป๋า อกผายไหล่ผึ่งไม่ค่อย

มีหรอก เป็นสัจธรรมเมื่อ ถ่ายรูปเมืองหนาว หนาวจัดแค่ไหนสังเกตจากคอว่าหดมากขนาดไหน




อิ่มเอมกับธรรมชาติมาพอควร เดินหากาแฟและขนมกินรองท้อง ก่อนกลับไปที่จอดรถ

ลง มาที่จอดรถ ว่าแล้วเชียวเสียงนกหวีดดัง เสียงตะโกนดังไปทั่ว รถมันจอดบล็อกกัน รถมากจริงๆครับ

นี่ขนาดมีเจ้าหน้าที่ดูแล ถ้าจอดกันตามใจชอบผมว่า สงครามย่อยๆ

พวกเราสบายหน่อย รถจอดด้านหน้าริมถนน ออกง่ายดายสะดวกโยธิน กลับถึงที่พักพอลงรถครบถ้วน

ทุกคน หนาวปีหน้าไปไหนดีวะ เขาว่ามีที่เที่ยวใหม่อยู่ห่างปายไปหน่อย ยังเวอร์จิ้นมาก สวยกว่าปาย...

... น่าสนๆ งานนี้ยังไม่ทันจบ หางานใหม่เข้ามาแล้ว

อาหาร เช้า.... ข้าวต้มที่ทางรีสอร์ทเตรียมไว้ให้ อร่อยมาก แต่ทุกอย่างเหมือนเดิมนั่งคอหด ตัวงอเหมือน

มื้อเย็นวาน ซดข้าวต้ม เก็บของเช็คเอาท์ เพื่อไปเชียงของต่อไป บ้ายบาย ผาตั้ง

ที่มา : ขอขอบคุณ bonsaibaan.com
  

ฟ่าน...... ข้าวสวยสุกใหม่ๆ หอมกรุ่น ควันโขมงถูกตักเสริฟใส่จานพวกเราทุกคน มาแล้วขาหมูยูนาน หมั่นโถ